Page 7 - แนวทางการบริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ของผู้ตอบรับการทาบทามเข้ารับการสรรหาอธิการบดี
P. 7

นโยบายการบริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2564-2566
                              รองศาสตราจารย์ เกศินี วิฑูรชาติ

           กราบเรียนคณะกรรมการสรรหา และประชาคมธรรมศาสตร์ที่เคารพรักทุกท่าน

                  ดิฉันรู้สึกเป็นเกียรติอย่างสูงที่ได้รับการเสนอชื่อจากประชาคมในทุกหน่วยงาน
           ให้เป็นผู้เหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อีกวาระหนึ่ง ซึ่งถือ
           เป็นโอกาสสำคัญที่ดิฉันจะได้สานต่อโครงการหลักหลายด้านที่ได้ริเริ่มในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
           ให้ประสบความสำเร็จเป็นรูปธรรมเพื่อประโยชน์สูงสุดของมหาวิทยาลัย และชาวธรรมศาสตร์
           โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการ Thammasat Innopolis ที่จะพลิกโฉมธรรมศาสตร์ทั้ง 4 ศูนย์
           ให้เป็นมากกว่าพื้นที่การเรียนการสอน ไปสู่พื้นที่แห่งการสร้างนวัตกรรม สร้างผู้นำรุ่นใหม่
           โดยจะปรับศูนย์ท่าพระจันทร์ให้เป็นเมืองนวัตกรรมสังคมโดยมี Freedom Square สอดรับ
           กับการฟื้นฟู ตึกโดมดั้งเดิม เปลี่ยนศูนย์รังสิตให้เป็นเมืองนวัตกรรมที่บูรณาการหลายศาสตร์
           โดยมี Thammasat Viva City เป็นแหล่งสร้างชีวิตชีวาใหม่ให้ชาวธรรมศาสตร์
           สร้างศูนย์พัทยาให้เป็นเมืองนวัตกรรมแห่งสุขภาพและเวลเนสโดยมีทั้งโรงพยาบาล ศูนย์วิจัย
           การแพทย์ชั้นสูง และ Wellness Retreat Center เพื่อรองรับพื้นที่ EEC พัฒนาศูนย์ลำปาง
           ให้เป็นเมืองนวัตกรรมพหุศาสตร์ที่เป็นต้นแบบของ Frontier School อย่างแท้จริง
           นอกจากนี้ ก็จะผลักดันธรรมศาสตร์ตลาดวิชาออนไลน์ให้กลายเป็นแพลตฟอร์มหลักในการ
           เสริมสร้างทักษะแห่งอนาคตให้กับกำลังแรงงานของไทยเพื่อให้ประเทศของเราแข่งขัน
           ได้เป็นอย่างดีในโลกยุคใหม่ สิ่งที่กราบเรียนมาข้างต้นเป็นโครงการหลัก ๆ ที่ได้เริ่มดำเนินการ
           ให้เป็นเป็นรูปร่างบ้างแล้ว แต่ต้องการการดูแลสานต่อ และผลักดันให้สำเร็จตามเป้าหมาย
           ที่ได้ออกแบบและดำเนินการไว้

                  ดิฉันขอเรียนว่านับตั้งแต่การสถาปนามหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองขึ้น
           ในปี 2477 จนมาถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี 2564 มหาวิทยาลัยอันเป็นที่รักของเรา
           ก็พัฒนา ก้าวหน้า และมีชื่อเสียงในระดับนานาชาติมากขึ้นเรื่อย ๆ จนติดอันดับโลกในหลาย
           ด้าน โดยเฉพาะในด้านความพึงพอใจของนายจ้างที่มีต่อบัณฑิต อัตราการได้งานทำ และ
           ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงซึ่งมีอันดับที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ปัจจุบันธรรมศาสตร์ ประกอบด้วย
           28 คณะ ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพสู่สังคมกว่าหมื่นคนต่อปี มีหลักสูตรนานาชาติประมาณ
           หนึ่งในสามของทั้งหมด 300 หลักสูตร ความโดดเด่นของธรรมศาสตร์ช่วยดึงดูดอาจารย์และ





                                                                           7
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12