Page 13 - จุลสารธรรมศาสตร์ ปีที่ 53 ฉบับที่ 6 เดือนกันยายน 2563
P. 13

“ไม่ใช่ว่าใครจะเข้าเป็นสมาชิกของ  EFMD  ได้  เพราะทาง
           EFMD  จะเป็นผู้คัดเลือกจากมหาวิทยาลัยที่มีศักยภาพและ
           สามารถทํางานเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายกันในระดับโลกได้เท่านั้น
           ส่วนการเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ก็จะยิ่งได้ทํางานร่วมกันในเชิง
           ลึก ช่วยกันออกแบบหลักสูตรและองค์ความรู้ทางธุรกิจเพื่อนํา
           ไปปรับใช้ทั่วโลก” รศ.เกศินี อธิบาย

           รศ.เกศินี อธิบายต่อไปว่า ในโลกการบริหารธุรกิจทุกวันนี้ ทั่วโลก
           จึงให้นํ้าหนักไปที่  “การแลกเปลี่ยนเรียนรู้”  เพราะการทํางาน
           ร่วมกันจะทําให้เกิดองค์ความรู้ใหม่  ๆ  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
           จะทําให้เราเห็นทิศทาง เทรนด์ ทักษะ และความต้องการในโลก
           อนาคต ซึ่ง EFMD ก็คาดหวังให้ธรรมศาสตร์เป็นเครือข่าย หรือ
           เป็น  Hub  ของอาเซียน  ที่จะไปเชื่อมโยงกับองค์กรภาคธุรกิจ
           ตลอดจนสถาบันที่จัดการเรียนการสอนด้านการบริหารธุรกิจ
           เพื่อให้ก้าวไปสู่คุณภาพในระดับนานาชาติด้วยกัน


           สําหรับโจทย์ที่ท้าทายต่อการศึกษาในโลกอนาคต อาจารย์เกศินี
           บอกว่า การศึกษาอาจไม่เป็นแพทเทิร์นเดิม ๆ ที่จบจากประถม
           แล้วต่อมัธยม  แล้วก็เข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย  เพราะเด็กจํานวน
           หนึ่งมองว่าสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองโดยการฝึกอบรม หรือ
           ปฏิบัติงานจริงกับภาคธุรกิจ


           “คนจะให้คุณค่ากับทักษะ  กระบวนการความคิด  มากกว่า
           ปริญญา หรืออย่างอาชีพในอนาคตก็จะเกิดสิ่งใหม่ ๆ ที่คนยุค
           เก่าไม่รู้จัก เด็กที่เกิดวันนี้อาจจะประกอบอาชีพที่ยังไม่มีอยู่จริง
           ในวันนี้ก็ได้ นี่คือโจทย์ที่ท้าทาย  และการศึกษาต้องปรับให้
           เท่าทัน” รศ.เกศินี ระบุ

           ในส่วนของมหาวิทยาลัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
           มองว่าจําเป็นต้อง  “ปรับโครงสร้าง”  ทั้งการบริหารและ
           การเรียนการสอนใหม่ เนื่องจากโลกปัจจุบันเรียกร้องทักษะที่
           รอบด้าน  การศึกษาจึงไม่ควรซอยเล็กซอยน้อยเป็นสาขา
           ยิบย่อยแบบทุกวันนี้ แต่จะต้องให้ภาพที่เป็นองค์รวม เป็นภาพ
           macro ฉะนั้นแต่ละภาคแต่ละคณะอาจต้องมีการยุบรวม หรือ
           ผสมผสานกันมากขึ้น

           สําหรับวิธีการเรียนจะต้องปรับเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง  การอ่าน
           จากตําราหรือเรียนรู้ด้วยตัวเองอาจไม่เพียงพอ  ต้องมีการ
           ปฏิบัติงานจริง  ต้องใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและระบบ
           ออนไลน์ที่เชื่อมโยงคนทั้งโลก  ที่สําคัญคือต้องให้ความสําคัญ
           กับ “การเรียนรู้ตลอดชีวิต” หรือ lifelong learning

           ท้ายที่สุด การศึกษาในโลกอนาคตคงหนีไม่พ้นความเชื่อมโยง
           กับปัญญาประดิษฐ์ (AI)  ซึ่งมหาวิทยาลัยชั้นนําของโลก
           ก็ปรับตัวไปในทิศทางเดียวกันนี้ โดยการนํา AI เข้ามาบริหาร
           จัดการโครงสร้างขั้นพื้นฐานทั้งหมด ตลอดจนจัดตั้งศูนย์เพื่อให้
           นักศึกษาและประชาชนเข้ามาเรียนรู้ในด้านนี้ ซึ่งเป้าหมายใน
           ระยะสั้นของธรรมศาสตร์ก็จะก้าวไปสู่การเป็น “AI University”
           ด้วยเช่นกัน โดยทั้งหมดนี้ สอดรับกับกรอบแนวคิด Defining
           the Future ในการบริหารตลอดมา




                                                                                                              13
                                                                                                  NewsBites
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18