Page 10 - เหลียวหลัง แลหน้า ๘๕ ปี ธรรมศาสตร์
P. 10

ข้าพเจ้าจึงขอตักเตือนนักศึกษาให้ปฏิบัติตาม
                                ภาษิตของบัณฑิต คือ สุ. จิ. ปุ. ลิ. ดังที่ข้าพเจ้าได้
                                เคยกล่าวถึงภาษิตนี้มาก่อนแล้วหลายหน  ข้าพเจ้า
                                เห็นว่านักศึกษาจะช่วยบ้านเมืองและมนุษยโลกได้
                                ด้วยปฏิบัติตามภาษิตนี้  เพื่อต่อต้านกับศีลธรรม

                                อันเสื่อม เพราะความหลงเชื่อในศิลปแห่งค�าโกหก
                     หลอกลวง ค�าอ�าพรางความจริง ค�าแฝงความเท็จ ย่อมท�าให้
                     ผู้หลงเชื่อนั้น ได้ประพฤติผิดไปจากความจริง  และยิ่งในส่วน
                     ที่เกี่ยวข้องกับประเทศชาติด้วยแล้ว ก็อาจที่จะท�าให้ประเทศชาติ
                     ต้องเสียประโยชน์ไปอย่างมากมาย
                         “นิทานต่างๆ ที่นักศึกษาได้เคยอ่านมาตั้งแต่เด็ก ก็มีอยู่หลาย
                     เรื่องซึ่งแสดงให้เห็นถึงผลร้ายของความเท็จ ถ้ารากฐานของ
                     ประเทศตั้งอยู่ด้วยความเท็จ และคนชอบเชื่อในความเท็จมากแล้ว
                     ประเทศนั้นๆ ก็จะไม่ได้รับความเชื่อถือ  บุคคลที่สร้างความเท็จ
                     เพื่อให้แพร่ไปในสมองอันบริสุทธิ์ของเพื่อนร่วมชาติ บุคคลนั้น
                     ย่อมท�าลายจิตต์ใจอันบริสุทธิ์ของเพื่อนร่วมชาติ เป็นการท�าลาย

                     ชาติโดยตรง
                         “ตามธรรมดาผู้ที่สร้างความเท็จก็มักจะมีศิลปที่จะหยดพิษ
                     ร้ายแห่งความเท็จเข้าไปด้วยความฉลาดแกมโกงของเขา พิษร้าย
                     แห่งความเท็จเมื่อรวมกันเข้ามากๆ ก็ท�าให้จิตต์ใจอันบริสุทธิ์ของ
                     มนุษย์เสื่อมทรามลงไป  ความซื่อสัตย์ซึ่งเป็นสิ่งซึ่งมนุษย์จ�าต้อง
                     มีก็จะสูญสิ้น น�ามาซึ่งความเสื่อมโทรมของศีลธรรมโดยทั่วไป
                         “ฉะนั้นนักศึกษาผู้ซึ่งเป็นบัณฑิตหรือก�าลังศึกษาจะไปสู่ความ
                     เป็นบัณฑิต เมื่อประพฤติตามภาษิตของบัณฑิต คือ สุ. จิ. ปุ. ลิ.
                     กล่าวคือ ฟังแล้วตรึกตรองว่า ที่ฟังนั้นจริงหรือไม่จริง แล้ว

                     สอบสวนหาข้อเท็จจริง แล้วบันทึกเป็นความจ�าเข้าไว้ ก็จะเป็น
                     ทางป้องกันไม่ให้พิษร้ายแห่งความเท็จได้เข้ามาสิงสู่ จิตต์ใจของ
                     นักศึกษาก็จะบริสุทธิ์ เป็นผู้ที่มีศีลธรรมอุดมด้วยความซื่อสัตย์
                     และเมื่อได้ปฏิบัติตนของตนได้เช่นนั้นแล้ว  ช่วยกันต้านทานมิ
                     ให้ความเท็จเป็นเจ้าเรือนอยู่ได้ในประเทศแล้ว ก็จะเป็นการช่วย
                     ประเทศชาติและเพื่อนมนุษย์ได้ด้วย”



                                                              ปรีดี พนมยงค์
                                                            ๑๘ ตุลาคม ๒๔๘๙
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15