Page 13 - จุลสารธรรมศาสตร์ ปีที่ 54 ฉบับที่ 10 เดือนตุลาคม 2564
P. 13

FUTURE COLLABORATION


                     การสร้างความยั่งยืนทางกายภาพที่สมบูรณ์


                                     และคุณภาพชีวิตที่ลงตัว


                                                         การพัฒนาอย่างรอบด้านทุกมิติจะช่วยให้สังคมมี
                                                         ความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ตามกลยุทธ์ 4F นั้น ในด้าน “Future
                                                         Collaboration” คือการพัฒนารูปแบบความร่วมมือแห่ง
                                                         อนาคต ซึ่งเรามีพร้อมทั้งทักษะ และบุคลากรที่มีความรู้
                                                         ความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ เป็นอีกหนึ่งเป้าหมายส�าคัญของ
                                                         “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” ที่จะช่วยให้การพัฒนาประเทศ
                                                         ทุกภาคส่วนเป็นไปอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งยกระดับการพัฒนา
                                                         ทางกายภาพและคุณภาพควบคู่กันไปได้เป็นอย่างดี มุ่งสู่
                                                         การเป็น “มหาวิทยาลัยระดับโลกเพื่อประชาชน”

                                                         สิ่งที่เราจะพูดถึงในวันนี้ เป็นความร่วมมือที่เกิดขึ้นในกรอบ
               ของ “Future Collaboration” ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เล็งเห็นถึงการสร้างประโยชน์ให้กับประชาชน ประเทศชาติ
               และเป็นสิ่งที่เราอยากเห็นความเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดี ซึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ เราได้จับมือกับ จ.ปทุมธานี และ สวทช. เพื่อ
               พัฒนา อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ให้เป็นต้นแบบของเมืองอัจฉริยะ ตามโครงการการพัฒนาเมืองอัจฉริยะคลองหลวง
               (Khlong Luang Smart City) ที่จะมุ่งเน้นไปที่การน�าเทคโนโลยีและนวัตกรรมทันสมัยและชาญฉลาด เข้ามาช่วยเพิ่ม
               ประสิทธิภาพการจัดการภายใต้แนวคิด Smart City และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เพื่อน�าพาคุณภาพชีวิต
               ของพี่น้องชาวคลองหลวงให้ดีขึ้น และต่อยอดความส�าเร็จไปสู่อ�าเภออื่น ๆ ใน จ.ปทุมธานี ได้

               พูดถึงเรื่อง Smart City ยังมีอีกหนึ่งความร่วมมือที่เกิดขึ้นในช่วงเวลา
               ไล่เลี่ยกัน มีเป้าหมายที่ต้องการสร้างเมืองอัจริยะเช่นกัน โดยทาง
               คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง ได้ร่วมมือ ALT จัดท�าโครงการ
               ทางวิชาการเพื่อพัฒนาพื้นที่ต้นแบบและเทคโนโลยีอัจฉริยะ หรือ Smart
               Technology ให้เป็นพื้นที่ต้นแบบของสภาพแวดล้อมและอาคารอัจฉริยะ โดย
               เป้าหมายคือ อยากได้ต้นแบบของ Innovation ที่สร้าง Impact ได้ในอนาคต
               ในระดับอาคาร ชุมชน ย่าน หรือเมือง เป็นนวัตกรรมที่สามารถ Scalable
               ได้สามารถน�างานวิจัยไปพัฒนาต่อยอดเพื่อใช้ในเชิงธุรกิจตอบสนองเป้าหมาย
               ในการเป็น Smart City ของสังคมได้จริง

               การมีเมืองที่ดีเป็น  Smart  City  แล้วนั้น  ที่ขาดไม่ได้เลยคือ  คุณภาพชีวิต
               ของผู้อยู่อาศัยก็ต้องดีด้วยเช่นกัน “การสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี” โดยทาง
               คณะสาธารณสุขศาสตร์ ได้เข้าไปมีส่วนร่วมด้านการส่งเสริมและพัฒนาทักษะ Digital Resilience อย่างรอบด้านส�าหรับ
               เยาวชนไทย ภายใต้ “โครงการวัคซีนเพื่อรับมือปัญหา: การศึกษาภูมิคุ้มกันในโลกดิจิทัล (Digital Resilience) และ
               Cyberbullying ของกลุ่มนักเรียนระดับมัธยมศึกษาใน 5 ภูมิภาคของประเทศไทย” เพื่อส่งเสริมให้เกิดความตระหนัก
               ถึงความไม่ปลอดภัยบนโลกออนไลน์ให้กับเยาวชน ครู และผู้ปกครอง และร่วมพัฒนาช่องทางรูปแบบการให้ความช่วยเหลือ
               ส�าหรับเยาวชนที่ประสบปัญหาความไม่ปลอดภัยบนโลกออนไลน์ เป็นการร่วมมือกันระหว่างกองทุนสื่อ และภาคีเครือข่าย
               ที่มีเป้าหมายเดียวกันคือการขับเคลื่อนงานด้านการแก้ไขปัญหาเพื่อสังคม

                                                      และอีกหนึ่งโครงการที่มีการท�างานอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา เป็น
                                                      ตัวอย่างของ Future Collaboration ที่สร้างประโยชน์ให้กับ
                                                      สังคมได้อย่างดี คือความร่วมมือของคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
                                                      และ สสส. ผ่านโครงการพัฒนารูปแบบการเสริมพลังชุมชน
                                                      การเฝ้าระวังทางสังคม และดูแลช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผล
                                                      กระทบทางเศรษฐกิจ สังคมจากการแพร่ระบาดโรคโควิด-19
                                                      โ ด ย ทีมนักวิจัยได้ลงพื้นที่เพื่อช่วยเหลือประชาชน
                                                      เสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างทันท่วงที
                                                      ตามสถานการณ์ในปัจจุบัน


                                                                           Thamasat for (4) futur e  13
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18