Page 6 - จุลสารธรรมศาสตร์ ปีที่ 54 ฉบับที่ 12 เดือนธันวาคม 2564
P. 6

วันนี้เราพาทุกท่านมารู้จักกับตัวแทนเหล่านักวิจัยธรรมศาสตร์ที่ประสบความส�าเร็จและสร้างชื่อเสียงให้กับรั้วเหลืองแดง ว่า
               พวกเขาเหล่านั้นมีแนวคิดอย่างไรบ้างต่อการท�างานวิจัยและข้อความให้ก�าลังใจแก่นักวิจัยรุ่นใหม่ที่ก�าลังก้าวเดินและ
               เติบโตในเส้นทางนี้



                                        ศ.ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช

                                        คณะวิศวกรรมศาสตร์
                                        “นักวิจัยที่ดีต้องกล้าได้กล้าเสีย ยอมรับได้ต่อความล้มเหลว เราเจอแต่คนชอบส�าเร็จ
                                        อย่างเดียว มันต้องล้มมาก่อนแล้วจึงจะส�าเร็จ และนักวิจัยที่ดีต้องเป็นกัลยาณมิตร
                                        เป็นพันธมิตรเครือข่ายที่ดี พอเติบโตเป็นนักวิจัยระดับสูงขึ้นคุณจะอยู่โดดเดี่ยวไม่ได้
                                        เพราะเขาจะบอกว่าคุณไม่สร้างคนสร้างทีม พอเป็นนักวิจัยที่โตขึ้นคุณต้องสร้างทีม
                                        สร้างเครือข่าย สร้าง impact ต่อสังคม สร้างคนรุ่นใหม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเรื่อย ๆ”




                                        ศ.ดร.รุธิร์ พนมยงค์

                                        คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
                                        “เราอย่าไปมองว่างานวิจัยนั้นยาก จริง ๆ แล้วงานวิจัยนั้นไม่ใช่เรื่องยากเลย เพียงแต่
                                        ว่าเราต้องมีความสนใจและตั้งค�าถามอยู่ตลอดเวลา การท�างานวิจัยคือการที่เราก�าลัง
                                        ตอบค�าถามของสังคม ช่วยหาค�าตอบของค�าถามนั้นเพื่อที่เขาจะได้เดินหน้าได้ต่อและ
                                        ส�าหรับนักวิจัยรุ่นใหม่สิ่งหนึ่งที่ผมว่าส�าคัญมากก็คือ อย่าท้อ ทุกงานวิจัยมีบ้าน ก็คือ
                                        จะมีวารสารที่สามารถลงได้ เพียงแต่ว่าอาจจะไม่ใช่วารสารที่เราคิดตั้งแต่ต้น เราแค่
                                        ยังหาบ้านไม่เจอ ฉะนั้นจึงอย่าเพิ่งท้อตั้งแต่ต้น”




                                        ศ.ดร.เกศรา ณ บางช้าง
                                        วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์

                                        “ จริง ๆ ตัวเองเติบโตมาจากระบบนักวิจัยพี่เลี้ยงที่เขาเรียกว่า Mentoring System
                                        เพราะฉะนั้นที่นักวิจัยรุ่นเยาว์จะเติบโตขึ้นมาอย่างรวดเร็ว  อาจจะมีแต่อาจจะมีน้อย
                                        เราต้องเรียนรู้และเข้าไปท�างานในกลุ่มนักวิจัยผู้ใหญ่ที่มีประสบการณ์มาก่อน เพราะนี่จะ
                                        เป็นทางลัดที่จะท�าให้เราเรียนรู้ทุกอย่าง มันจะหล่อหลอมพัฒนาความคิดของเรา และ
                                        อีกส่วนหนึ่งการเป็นนักวิจัยรุ่นใหม่ต้องพยายามที่จะรับฟัง เรียนรู้ และเปิดโลกทัศน์ให้
                                        กว้าง ไม่ใช่เรียนรู้แต่ศาสตร์ของเราศาสตร์เดียว เราต้องเรียนรู้เพิ่มเติมมาโดยตลอด
                                        เพื่อปรับมาใช้งานของเรา ฉะนั้นต้องเปิดโลกทัศน์ของเราให้กว้างแล้วน�ามาบูรณาการ
                                        กับศาสตร์หลักของตัวเองให้ได้”




                                        ศ.ดร.วิจิตรา วิเชียรชม
                                        คณะนิติศาสตร์
                                        “เราควรจะนึกถึงว่าการท�าการศึกษาวิจัยจะให้ประโยชน์อะไรแก่สังคมและส่วนรวม
                                        เนื่องจากว่าพวกเราทุกคนเป็นสมาชิกในสังคม  ถ้าสังคมมีปัญหาเราจะอยู่ในสังคม
                                        ได้สงบสุขอย่างไร เราต้องท�าสังคมเราให้ดีก่อนด้วยงานวิจัยของเรา และเราก็จะดีไป
                                        ด้วย มีความสุขไปด้วยในสังคมนี้ เพราะฉะนั้นงานวิจัยควรมีหน้าที่ท�าให้สังคมดีขึ้น
                                        กว่าที่เป็นอยู่”



                6   Co v er St or y
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11