Page 7 - จุลสารธรรมศาสตร์ ปีที่ 54 ฉบับที่ 12 เดือนธันวาคม 2564
P. 7

ศ.ดร.วัชระ งามจิตรเจริญ
                                       คณะศิลปศาสตร์

                                       “งานวิจัยน่าจะเป็นไปเพื่อความสร้างสรรค์ ไม่ใช่วิจัยไปแล้วไปนั่งทะเลาะกัน เกิด
                                       ความแตกแยก สังคมเราจะดีขึ้นจากงานวิจัย ไม่ใช่แย่ลง จึงอยากให้ก�าลังใจกับ
                                       นักวิจัยทุกท่านว่าอย่าท้อถอย ถึงจะพบเจอความล�าบากและอุปสรรคระหว่างทาง
                                       ก็ให้สิ่งนั้นเป็นแรงขับเคลื่อนมากกว่าการบ่อนท�าลายความตั้งใจที่เราอยากจะใช้
                                       งานวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมของเราให้ดียิ่งขึ้น”




                                        รศ.ดร.ไพลวรรณ สัทธานนท์
                                        คณะสหเวชศาสตร์

                                        “พูดถึงการท�างานวิจัยในปัจจุบันแล้วถ้าเทียบกับตอนสมัยเราเริ่มท�าวิจัยมี
                                        ความท้าทายมากกว่ามาก ทั้งในรูปแบบทางปัจจัยที่เกี่ยวกับเรื่องการให้ทุนวิจัยหรือว่า
                                        การแข่งขัน ท�าให้กลุ่มนักวิจัยรุ่นใหม่ทุกคนจะต้องใช้ความพยายามมาก แต่ทางหนึ่ง
                                        ที่น่าจะสามารถท�าให้ยังคงด�าเนินงานวิจัยไปได้โดยเฉพาะนักวิจัยรุ่นใหม่เองก็คือ
                                        การรวมกลุ่มกับนักวิจัยที่มีประสบการณ์แล้วในระดับหนึ่ง และถ้าเราคิดว่าการท�างาน
                                        วิจัย เป็นความถนัดของเรา ฉะนั้นเมื่อเราลงมือท�าอย่างน้อยก็จะไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อย
                                        เพราะเป็นงานที่เราเชื่อว่ามีประโยชน์ต่อส่วนรวม เป็นงานที่เรามองเห็นคุณค่าของมัน
                                        ด้วยตัวเราเอง  ก็เชื่อว่าน่าจะเป็นสิ่งหนึ่งที่ท�าให้เรามีแรงผลักดันท�างานวิจัยไปได้
                                        อย่างไม่สิ้นสุด”



                                        รศ.ดร.วุฒิพล สินธุนาวารัตน์
                                        คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

                                        “ส�าหรับนักวิจัยที่คิดจะริเริ่มท�างานวิจัย ก็อยากเป็นก�าลังใจให้กับทุกคน อยากแชร์
                                        ประสบการณ์ว่าจริงๆ แล้ว การที่เห็นผมมาอยู่ตรงนี้ ได้เห็นตัวผลงานว่ามีผลงาน
                                        ตีพิมพ์ มีผลงานเป็นจ�านวนมาก แต่จริง ๆ แล้วเบื้องหลัง ก็ผ่านร่องรอยและความล้มเหลว
                                        มาเยอะ เพราะฉะนั้นอย่าท้อ บางครั้งผมส่งผลงานเพื่อหวังจะได้ตีพิมพ์ในวารสารนั้น ๆ
                                        แต่ได้รับการปฏิเสธการตีพิมพ์ก็มีเหมือนกัน แต่ว่าเราก็ไม่ท้อถอย เราเอาค�าปฏิเสธ
                                        เหล่านั้นหรือเราเอาข้อแนะน�าเหล่านั้นมาพัฒนางานเรา  อย่ากลัว  ผมเชื่อว่าถ้าเราคิดว่า
                                        เราท�าได้ วันหนึ่งเราอาจจะประสบความส�าเร็จ หรือไม่ส�าเร็จก็ได้ แต่ถ้าเราคิดว่า
                                        เราท�าไม่ได้มันจะไม่มีวันประสบความส�าเร็จได้เลย”





                                        รศ.ดร.อุรุยา วีสกุล

                                        คณะวิศวกรรมศาสตร์

                                        “งานวิจัยหนึ่งชิ้นสามารถประกอบไปด้วยหลายองค์ความรู้ สามารถ cross ศาสตร์ ซึ่ง
                                        เป็นการบูรณาการเพื่อสร้างองค์ความรู้ขึ้นมาใหม่ ที่เป็นประโยชน์ออกไปสู่สังคม และ
                                        พัฒนาประเทศชาติในรูปแบบต่าง ๆ ฉะนั้นการสร้างงานวิจัยเพื่อรองรับการพัฒนาสังคม
                                        ในด้านต่าง ๆ เป็นสิ่งที่นักวิจัยทุกคนพึงปฏิบัติ เป็นการคิดเพื่อประโยชน์ส่วนรวมมากกว่า
                                        ประโยชน์ส่วนตน การท�างานวิจัยเช่นนี้จะสร้างสิ่งดีงามอื่น ๆ ตามมา เป็นงานวิจัยที่ให้
                                        คุณค่ามากกว่าตัวอักษรในหน้ากระดาษเพียงเท่านั้น”





                                                                                      Co v er St or y  7
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12