Page 12 - แนวทางการบริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ของผู้ตอบรับการทาบทามเข้ารับการสรรหาอธิการบดี
P. 12

และ GMP รวมทั้งอยู่ระหว่างการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนระหว่าง
                        มหาวิทยาลัยกับองค์กรภายนอก
                     ▪  Coworking Space จำนวน 5 จุด ที่รองรับผู้ใช้งานได้มากกว่า ๓,๐๐๐
                        คน/วัน โดยจัดให้มีกิจกรรมเพื่อสร้างธุรกิจใหม่ ๆ โดยเครือข่ายพี่เลี้ยง
                        ธุรกิจ เครือข่ายนักลงทุน และศิษย์เก่ามาร่วมอย่างสม่ำเสมอ
                     ▪  อุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี ขยายบทบาทอาคารซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศ
                        ด้านสถาปัตยกรรมในสาขาภูมิทัศน์และการออกแบบพื้นที่สาธารณะ
                        ให้เป็นพื้นที่เพื่อการเรียนรู้ทางสังคมแบบบูรณาการ โดยจัดแบ่งเป็นพื้นที่
                        การเรียนรู้ ห้องนิทรรศการ ห้องข้อมูลธรรมศาสตร์ ห้องสมุด และห้อง
                        ประชุมที่ให้บริการแก่ประชาชน ส่งเสริม Green Roof Urban Farm
                        แปลงเกษตรออร์กานิกบนหลังคาขนาด 7,000 ตารางเมตรเพื่อผลักดัน
                        เรื่องอาหารปลอดสารเคมีในมหาวิทยาลัย และเป็นพื้นที่สีเขียวที่เป็น
                        สวนสาธารณะลอยฟ้าเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจและการออกกำลังกาย
                 o  Thammasat Tha Prachan Innopolis พัฒนาพื้นที่ 49 ไร่ ให้กลายเป็น
                    เมืองนวัตกรรมสังคม ซึ่งเป็นการต่อยอดจากทุนเดิมตั้งแต่สถาปนามหาวิทยาลัย
                    โดยความร่วมมือระหว่างคณะต่าง ๆ ด้านสังคมศาสตร์ที่ยังรักษาฐานเดิมได้
                    อย่างแข็งแกร่ง โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ เช่น
                     ▪  Thammasat Freedom Square ปรับพื้นที่ใจกลางให้เป็นลาน
                        กิจกรรมสาธารณะที่ยกระดับให้สูงขึ้นจากพื้นดินโดยยังคงมีสนามฟุตบอล
                        และลู่วิ่ง ควบคู่กับการปรับภูมิทัศน์โดยรอบให้ร่มรื่น เป็นพื้นที่กลางแจ้ง
                        เพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ประชาธิปไตย และการเมืองไทย โดย
                        ด้านล่างพัฒนาเป็นพื้นที่จอดรถ 500 คันเพื่อรองรับการใช้งาน
                        ของบุคลากร ผู้มาติดต่อ และนักศึกษา โดยจะดำเนินการควบคู่ให้สอดรับ
                        ไปกับการปรับปรุงอาคารโดม และภูมิทัศน์โดยรอบเพื่อเชิดชูพื้นที่เก่าแก่
                        ตั้งแต่สถาปนามหาวิทยาลัย
                     ▪  Co-Working Space เพิ่มพื้นที่ในการศึกษาและทำงาน โดยดำเนินการ
                        ร่วมกับสำนักหอสมุด และงานกิจกรรมนักศึกษา โดยจะดำเนินการให้มี
                        ความเหมาะสมกับสภาพวิถีปกติใหม่ที่ต้องการความสะอาด โปร่ง โล่ง
                        และการเว้นระยะห่างอย่างเหมาะสม โดยจัดให้มีกิจกรรมเพื่อสร้างธุรกิจ
                        ใหม่ ๆ โดยเครือข่ายพี่เลี้ยงธุรกิจ เครือข่ายนักลงทุน และศิษย์เก่า
                        มาร่วมอย่างสม่ำเสมอ






        12
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17