Page 14 - แนวทางการบริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ของผู้ตอบรับการทาบทามเข้ารับการสรรหาอธิการบดี
P. 14

▪  Full-Scale Frontier School จัดการจัดการเรียนการสอนในลักษณะ
                        ที่นักศึกษาเข้าสู่มหาวิทยาลัยแล้ว เลือกเรียนได้ตามความถนัดและสนใจ
                        โดยประสมประสานจากตะกร้าวิชาของศาสตร์สาขาต่าง ๆ ที่มีให้เลือก
                        อย่างเต็มรูปแบบแห่งแรกของไทย
                     ▪  Co-Working Space across Disciplines พื้นที่ทำงานร่วมกันสำหรับ
                        นักศึกษา และคณาจารย์ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญต่างศาสตร์
                        ต่างสาขาวิชา โดยมีโปรเจคที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก
                        เป็นกลไกขับเคลื่อนการทำงานและการเรียนรู้
                     ทั้งนี้ การไปให้ถึงเป้าหมายของเมืองนวัตกรรมแห่งธรรมศาสตร์ของทั้ง 4 ศูนย์
                     ข้างต้น ก็จะเป็นการต่อยอด และเติมเต็มจากองค์ประกอบหลายส่วน
                     ที่มหาวิทยาลัยได้เริ่มต้นดำเนินการไว้แล้ว โดยมหาวิทยาลัยจะเลือกหน่วยงาน
                     ที่มีความพร้อมในแต่ละศูนย์ให้ร่วมมือกันดำเนินการในลักษณะ Pilot Project
                     ทั้งในการปรับหลักสูตร การเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอน การพัฒนาทักษะ
                     การวัดผล ภายใต้ความร่วมมือกับองค์กรเครือข่ายจากภายนอกที่คัดสรรมา
                     เพื่อทำให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาชุดทักษะใหม่แห่งอนาคตให้กับบัณฑิต
                     ควบคู่ไปกับการสร้างผลผลิตนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ของประเทศได้อย่าง
                     เป็นรูปธรรม
              •  Thammasat for GREATS & SDGs มหาวิทยาลัยจะมุ่งตอบโจทย์การผลิต
                  บัณฑิตให้มีคุณลักษณะผู้นำแห่งอนาคต 6 ด้าน (GREATS: Global Mindset,
                  Responsibility, Eloquence, Aesthetic Appreciation, Teamwork, & Spirit
                  of Thammasat) กับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามแนวทางของ
                  สหประชาชาติที่มหาวิทยาลัยได้เลือกไว้ 4 ด้านหลัก คือ 1. Industry, Innovation
                  and Infrastructure,  2.   Good Health and  Well-being 3.   Reduced
                  Inequalities และ 4. Partnerships for the Goals
                     ดังนั้น เพื่อให้ตอบโจทย์ GREATS และ SDGs 4 ด้านข้างต้นเป็นหลัก เพื่อ
                  ปักธงสร้างขื่อธรรมศาสตร์ในระดับนานาชาติตาม Impact Rankings ของ
                  The Times Higher Education เป็นการสานต่อจากที่มหาวิทยาลัยได้ริเริ่มเข้าร่วม
                  การประเมินในปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยจึงจะกำหนดแนวทางที่ชัดเจน
                  ในการดำเนินการตามกรอบ GREATS และ SDGs สำหรับ







        14
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19