Page 17 - แนวทางการบริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ของผู้ตอบรับการทาบทามเข้ารับการสรรหาอธิการบดี
P. 17

o  Toward a New Balance in Manpower สร้างความสมดุลในอัตรากำลัง
                     โดยจะดำเนินการควบคู่กันไปใน 2 ลักษณะ
                     ▪  Manpower Index Guideline เกิดจากการเปรียบเทียบ อัตรากำลัง
                         ที่ควรจะมี (should be) กับอัตรากำลังในปัจจุบัน (as is) โดยพิจารณา
                         จากขอบเขตพันธกิจ ภาระรับผิดชอบ และกิจกรรมของหน่วยงาน
                         โดยตัวเลขอัตรากำลังใหม่ดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจาก
                         คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย หน่วยงานที่มีค่าดัชนีเป็นบวกจะได้รับ
                         การจัดสรรอัตรากำลังเพิ่มเติม ในขณะที่หน่วยงานที่ค่าดัชนีเป็นลบ
                         จะยังไม่ได้รับการจัดสรรเพิ่มเติมจนกว่าจะเข้าสู่จุดสมดุล
                     ▪  Special-Need-Basis Manpower อนุญาตให้หน่วยงานจ้างบุคลากร
                         เพิ่มเติมตามความต้องการได้ภายใต้เงื่อนไขการจ้างที่ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์
                         มาตรฐานของมหาวิทยาลัยโดยใช้งบประมาณขอวหน่วยงานเอง อย่างไร
                         ก็ตามหน่วยงานสามารถขอรับการสนับสนุนการจ้างบุคลากรตามความ
                         จำเป็นพิเศษดังกล่าวได้ โดยมหาวิทยาลัยอาจพิจารณาจัดสรร
                         เป็นงบอุดหนุนให้ตามความเหมาะสมเป็นรายกรณีไป
                 o  Joint Appointment Systems สนับสนุนให้หลายหน่วยงานที่ตกลงร่วมกัน
                     จ้างบุคคลภายนอกให้มาปฏิบัติงานให้กับหน่วยงานโดยมีข้อตกลงในการ
                     แบ่งหน้าที่ และภาระงานที่จะทำให้กับแต่ละหน่วยงานอย่างชัดเจนโดยหัวหน้า
                     หน่วยงานเห็นชอบร่วมกัน ทั้งนี้มหาวิทยาลัยจะจ่ายค่าตอบแทนและ
                     สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ให้ตามปกติ ส่วนค่าตอบแทนส่วนเพิ่ม สวัสดิการเพิ่มเติม
                     และแนวทางการประเมินผล ให้เป็นไปตามที่ตกลงกันในสัญญาจ้าง ทั้งนี้
                     บุคลากรดังกล่าวต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษมีผลงานเป็นที่ประจักษ์
                     ชัด และมีศักยภาพในการสร้างผลงานอย่างต่อเนื่อง
                 o  Research Speedway ส่งเสริมให้อาจารย์สามารถเข้าสู่เส้นทางเร่งผลิต
                     ผลงานวิจัยโดยปลอดงานสอนได้หนึ่งปี โดยต้องมีผลงานตีพิมพ์ใน Scopus
                     สองควอไทล์แรกภายในหนึ่งปีถัดมา ทั้งนี้ จะจัดสรรทุนสนับสนุนเบื้องต้น
                     ๓๐ ทุน ทุนละ ๒๔๐,๐๐๐ บาท โดยจะจัดทำเป็นประกาศต่อไป
                 o  Future Skill Set Development มหาวิทยาลัยจะจัดอบรม และประเมิน
                     ชุดทักษะแห่งอนาคตที่จำเป็นสำหรับการทำงานในโลกยุคใหม่ของสายสนับสนุน
                     วิชาการ โดยผู้ที่ผ่านการประเมินจะได้รับค่าตอบแทนเพิ่มเติมตามประเภทและ
                     ระดับของทักษะที่เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัย ตัวอย่างทักษะตาม
                     นโยบาย เช่น ทักษะดิจิทัล และทักษะสื่อสารด้วยภาษาต่างประเทศ เป็นต้น




                                                                           17
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22